หน้าเว็บ

12/05/2011

1/144 BOEING 737-800 ROYAL THAI AIR FORCE FOR ROYAL FLIGHT



ROYAL THAI AIR FORCE BOEING 737-8Z6 FOR ROYAL FLIGHT
 
Special Thanks: 602 Royal Flight Squadron (Royal Guard) Wing 6  RTAFB  Donmuang Bangkok.

เครื่องบินพระที่นั่ง โบอิ้ง 737-800
ย้อนกลับไปเมื่อปี พ.ศ. 2490 กองทัพอากาศได้ทำการจัดหาเครื่องบินลำเลียงแบบที่ 2 หรือ C47Dagota เข้าประจำการ และมีเครื่องบินส่วนหนึ่งน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายเป็นเครื่องบินพระราช พาหนะแก่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เพื่อทรงใช้ในการเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมราษฎรในท้องถิ่นทุรกันดารทั่ว ประเทศ นับแต่ปีนั้น (2490) จนถึงปัจจุบันนี้ กองทัพอากาศได้น้อมเกล้าฯ ถวายเครื่องบินหลายแบบ ซึ่งประกอบไปด้วย C47, C54, C123B/K Avro748 Merlin4, Boeing 737-200/300/400 และAirbus 310...

เครื่องบินพระที่นั่งตามคำอธิบายในราชาศัพท์ หมายถึง ยานพาหนะสำหรับพระมหากษัตริย์ทรง หรือประทับ เพื่อเสด็จพระราชดำเนินในพระราชกรณียกิจต่างๆ โดยกล่าวถึงเครื่องบินทั้งประเภทใบพัด ไอพ่นและเฮลิคอปเตอร์ในการเสด็จพระราชดำเนินไปยังที่ต่างๆ ให้ต่อท้าย คำว่า "พระที่นั่ง"โดยใช้คำต่อท้าย เช่น "เครื่องบินพระที่นั่ง" และ"เฮลิคอปเตอร์พระที่นั่ง" โดยคำว่า "พระที่นั่ง" ใช้เฉพาะยานพาหนะสำหรับพระมหากษัตริย์ สมเด็จพระอัครมเหสี สมเด็จพระบรมราชชนนี สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร และสมเด็จพระบรมราชกุมารี ส่วนเจ้านายพระองค์อื่นใช้คำว่า "ที่นั่ง" แทนคำว่า "พระที่นั่ง"
หลักเกณฑ์ในการพิจารณาเครื่องบินที่ มีความเหมาะสม ที่จะบรรจุเป็นเครื่องบินพระราชพาหนะทดแทนเครื่องบินแบบเก่า คือ จะต้องมีสมรรถนะสูง สามารถตอบสนองต่อภารกิจและมีความจุของลำตัวในห้องโดยสารไม่น้อยไปกว่า เครื่องบินราชพาหนะลำเดิม สามารถทำการร่อนลงจอดได้ทุกสนามบินในประเทศ ต้องมีอุปกรณ์สื่อสารและเครื่องช่วยเดินอากาศที่ทันสมัย ต้องเป็นเครื่องบินที่มีสายการผลิตยาวนานและต่อเนื่องมาจนถึงยุคปัจจุบัน มีความแพร่หลายในการใช้งาน และเป็นไปตามมาตรฐานความปลอดภัยที่เป็นที่ยอมรับในวงการการบินพลเรือนของโลก จากการคัดเลือกของกองทัพอากาศ ทำให้เครื่องบิน Boeing 737-800 กลายมาเป็นเครื่องบินพระราชพาหนะลำใหม่ล่าสุด เนื่องจากมีคุณสมบัติตรงตามหลักเกณฑ์ของกองทัพอากาศ ที่ต้องการมากที่สุด อีกเหตุผลหนึ่งก็คือนักบิน เจ้าหน้าที่ประจำเครื่องและเจ้าหน้าที่ซ่อมบำรุงของกองทัพอากาศ มีความชำนาญกับเครื่องบินในตระกูล Boeing 737 เป็นอย่างดี

เมื่อวัน ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2550 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ทรงเจิมเครื่องบินพระที่นั่ง Boeing 737-800 ซึ่งเป็นเครื่องบินพระที่นั่งลำใหม่ที่กองทัพอากาศน้อมเกล้าน้อมกระหม่อม ถวาย เนื่องในโอกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี

ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ และพระบรมวงศานุวงค์ทุกพระองค์ได้ทรงงานหนักอย่างต่อเนื่องเพื่อยกระดับ คุณภาพชีวิต และสภาพความเป็นอยู่ของพสกนิกรชาวไทยทุกหมู่เหล่าให้ดีขึ้นในทุกๆ ด้าน โดยการเสด็จฯไปเยี่ยมเยือนประชาชนผู้ยากไร้และด้อยโอกาสในชนบทที่ห่างไกล จึงถือเป็นพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้ กองทัพอากาศได้มีโอกาสสนองเบื้องพระยุคลบาท ในการบำบัดทุกข์ บำรุงสุขให้แก่อานาประชาราษฎร์ในพื้นที่ต่างๆ ทั่วราชอาณาจักร ในการสนองพระราชกรณียกิจโดยจัดเครื่องบินพระราชพาหนะสำหรับใช้ในการเสด็จพระ ราชดำเนินไปประกอบพระราชกรณียกิจในพื้นที่ต่างๆ ตลอดมา และนำมาซึ่งความภาคภูมิใจสูงสุดของผู้ที่ได้ปฏิบัติหน้าที่ถวายพระบรมวงศานุ วงค์ทุกพระองค์

วันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2550 เครื่องบิน Boeing 737-800 หมายเลขเครื่อง 55-555 ของกองทัพอากาศไทย ที่จัดซื้อจากบริษัท Boeing สหรัฐอเมริกาบินเดินทางมาจากเมืองซีแอตเทิล มลรัฐวอชิงตัน ถึงยังสนามบินของกองบัญชาการกองทัพอากาศที่ดอนเมือง หลังจากนั้นเจ้าหน้าที่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเริ่มศึกษาเรียนรู้หาประสบการณ์ ในแต่ละหน้าที่ เพื่อสร้างความคุ้นเคยให้มากที่สุด

Boeing 737-800 เป็นอากาศยานพานิชย์ในตระกูล 737 ของบริษัท Boeing รุ่น NG หรือ Next Generation โดยเริ่มเปิดตัวออกสู่สาธารณะชนเมื่อปี พ.ศ. 2537 หลังจากเครื่องต้นแบบเสร็จสิ้นการทดสอบและผ่านการตรวจสอบความปลอดภัยจากคณะ กรรมการความปลอดภัยในการคมนาคม หรือ NTSB (National Transportation Safety Bureau) และสมาพันธ์การบินนานาชาติหรือ FAA (Federal Aviation Administration) เสร็จเรียบร้อยแล้ว ทำให้เป็นที่ต้องการของสายการบินต่างๆ ทั่วโลก จนถึงปี 2549 มียอดสั่งซื้อรวมทั้งหมด 1,940 ลำ โดยบริษัท Boeing ได้ทยอยส่งมอบเครื่องบิน 737-800 ให้กับลูกค้ากว่า 70 สายการบินและหน่วยงานของรัฐบาลไปแล้วมากกว่า 1,000 ลำ

การออกแบบของ เครื่องบิน Boeing 737-800 มีการนำเอาเทคโนโลยีโครงสร้างปีกแบบใหม่มาใช้ ทำให้ตัวเครื่องมีพื้นที่ในปีกเพิ่มขึ้น ซึ่งส่งผลต่อการบรรจุเชื้อเพลิงปริมาณมากๆ จึงทำให้มีพิสัยบิน (ระยะทำการบิน) ไกลขึ้น และรูปแบบของแอร์ฟลอยด์ที่ล้ำยุคส่งผลต่อความเร็วในการเดินทางที่เพิ่มขึ้น โดยสามารถบินด้วยความเร็วเดินทางได้ถึงมัค 0.785 หรือประมาณ 530 ไมล์ต่อชั่วโมง ซึ่งเร็วกว่าเครื่อง 737 รุ่นก่อนหน้านี้ ที่มีความเร็วเดินทางมัค 0.745 เครื่องบิน Boeing 737-800 มีเพดานบินสูงสุด 41,000 ฟุต ในขณะที่เครื่องบินคู่แข่งอย่าง Airbus A320 มีเพดานบินสูงสุดที่ 39,000 ฟุต เทคโนโลยีแบบใหม่ในการสร้างปีกแบบมีปีกเล็กที่บริเวณส่วนปลายสุดของปีก (Winglet) ที่โค้งงอและชี้ขึ้น นอกจากจะมีผลทำให้บินมีพิสัยไกลขึ้นแล้วยังสามารถประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิง ได้ถึงร้อยละ 3.5 ในส่วนของปีกเล็กที่กระดกงอขึ้นบริเวณส่วนปลายสุดของปีกนี้ บริษัท Boeing ผู้ผลิตได้ทำการติดตั้งให้โดยมิได้คิดมูลค่าแต่อย่างใด ในส่วนของแผงควบคุมการบินของเครื่องบินพระที่นั่งลำนี้ ได้มีการออกแบบขึ้นมาใหม่ทั้งหมดโดยใช้เทคโนโลยีของจอรุ่นใหม่ล่าสุดแบบจอ (Glass cockpits) แบบชนิดเดียวกันกับที่มีใช้อยู่ในเครื่องบินโดยสารพิสัยบินไกลรุ่น Boeing 777

การตกแต่งภายในของเครื่องบินพระที่นั่งเครื่องนี้ นอกจากจะเป็นการถวายความปลอดภัยสูงสุดแด่องค์พระประมุขของเราชาวไทยแล้ว ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่มีต่อประชาชน ชาวไทยทุกคน กองทัพอากาศจึงให้ความสำคัญกับการตกแต่งภายในเครื่องบิน โดยการตกแต่งห้องโดยสารภายในทั้งหมดด้วยความปราณีตบรรจง ให้ออกมาสวยงามและสมพระเกียรติ พร้อมกับความสะดวกสบายในการประทับและพักผ่อนพระอิริยาบถ พร้อมด้วยอุปกรณ์อำนวยความสะดวกต่างๆ เช่น อุปกรณ์สื่อสารที่ทันสมัย อุปกรณ์ทางการแพทย์ที่พร้อมมูล

การออกแบบภายใน กองทัพอากาศได้มอบให้บริษัท Greenpoint Technologies Inc. ซึ่งมีความเชี่ยวชาญในการออกแบบภายในของเครื่องบินโดยสารมากว่า 20 ปี โดยมีผลงานเป็นเครื่องบินพระที่นั่งของพระประมุขในประเทศต่างๆ รวมไปถึงเครื่องบินประจำตัวของประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกา การออกแบบภายในทั้งหมดของ Boeing 737-800 เครื่องบินพระที่นั่งลำใหม่นี้มีการกำหนดการติดตั้งอุปกรณ์ทุกชนิด เพื่อความถูกต้องในเรื่องของวัสดุที่ใช้ทำการสร้างและการใช้งานอย่างเหมาะสม กองทัพอากาศได้เรียนเชิญปรึกษาสมุหราชองค์รักษ์ เพื่อให้เกิดความเรียบร้อย และความสมพระเกียรติ นอกจากนี้กองทัพอากาศยังได้รับความอนุเคราะห์จากบริษัทการบินไทย จำกัดมหาชนที่ช่วยดูแลเกี่ยวกับการกำหนดและเลือกอุปกรณ์ในส่วนของการบริการ และการซ่อมบำรุงอีกด้วย

ห้องประทับ หรือ Royal Compartment กองทัพอากาศได้เรียนเชิญ อาจารย์เผ่าทอง ทองเจือ ผู้เชี่ยวชาญทางด้านผ้าไทยและผ้าโบราณตลอดจนศิลปวัฒนธรรม ร่วมกับ อาจารย์สาคร โสภา และอาจารย์วิโรจน์ กล่อมมานพ อาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิจากกรมศิลปากร ผู้มีความเชี่ยวชาญด้านจิตรกรรมฝาผนัง ดำเนินการวาดรูปจิตรกรรมไทยจากบทพระราชนิพนธ์พระมหาชนกในพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว มาวาดไว้ในฉากกั้นห้องโดยสารจำนวน 2 ภาพ ลงบนวัสดุมาตรฐานและได้การรับรองจาก FFA นอกจากนี้ยังมีการสร้างตราสัญลักษณ์ฉลองครองสิริราชสมบัติ 60 ปี โดย อาจารย์สมชาย ศุภลักษณ์อำไพพร นายช่างจากกรมศิลปากร เป็นผู้ออกแบบและดำเนินการสร้าง ภายในห้องโดยสารหรือห้องประทับ วัสดุต่างๆ ที่เดิมถูกออกแบบเป็นไม้วอลนัท ทางกองทัพอากาศได้ขอเปลี่ยนเป็นไม้สักทอง ซึ่งเป็นไม้ที่ประชาชนชาวไทยภาคภูมิใจ ไม้สักทองทั้งหมดที่ใช้ในการตกแต่งถูกคัดเลือกแต่ไม้ที่มีคุณภาพสูงสุด โดยองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ (อ.อ.ป.) ช่วยอำนวยความสะดวกในการส่งไม้สักทองทั้งหมดไปยังสหรัฐอเมริกา เพื่อนำขึ้นติดตั้งและประดับบนเครื่องบินพระที่นั่งลำนี้

ความ ภาคภูมิใจสูงสุดของผู้ที่ทำงานเกี่ยวข้องกับการบินในประเทศไทย คือ ได้ถวายการรับใช้ในการ เสด็จพระราชดำเนินทางอากาศด้วยเครื่องบินพระที่นั่งของพระบาทสมเด็จพระเจ้า อยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และพระบรมวงศานุวงค์ทุกพระองค์ ในการเสด็จไปประกอบพระราชกรณียกิจยังพื้นที่ต่างๆ แม้ในบางพื้นที่รถยนต์ยังไม่สามารถเข้าไปถึงได้ โดยนอกจากจะบรรจุเครื่องบิน Boeing 737-800 ลำใหม่ล่าสุดเข้ากระจำการแล้ว คณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้จัดซื้อเฮลิคอปเตอร์พระที่นั่งแบบ S92A อีก 3 เครื่องโดยให้ทางกองทัพอากาศเป็นผู้ดูแลและเตรียมการในการซื้อเฮลิคอปเตอร์ แบบ 10 ที่นั่ง แบบ S92A โดยการลงนามระหว่าง พลอากาศเอกไพศาล สีตบุตร และนายโทมัส ริชลิก ผู้แทนจำหน่ายจากบริษัทซิกอร์สกี้ (Sikorsky International Operations Inc.) ที่สำนักงานของบริษัทในประเทศเกาหลีใต้เมื่อเร็วๆ นี้

การจัดหา เครื่องบินพระที่นั่งรุ่นใหม่ล่าสุดอย่าง Boeing 737-800 ที่กองทัพอากาศจัดซื้อเข้ามาประจำการในฝูงบินพระที่นั่งมีมูลค่าประมาณ 3,100 ล้านบาท ซึ่งในขณะนี้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อย และพร้อมขึ้นบินเพื่อถวายการรับใช้ให้กับองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และพระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์ ในขณะที่ทรงประทับให้ได้รับความสะดวกสบายในทุกพระราชอริยาบท ของการเสด็จพระราชดำเนินไปประกอบพระราชกรณียกิจเพื่อความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ของพสกนิกรชาวไทยทุกคน

บทความเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 เนื่องในวโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา วันที่ 5 ธันวาคม พศ 2553


บริษัทผู้ผลิด:Boeing Company ประเทศสหรัฐอเมริกา
เครื่องยนต์:CFM56-7B27/B1 จำนวน ๒ เครื่องยนต์
แรงขับ:27,300 ปอนด์
บินได้นาน:12 ชั่วโมง
ความเร็วสูงสุด:0.82 มัค
น้ำหนักวิ่งขึ้นสูงสุด:174,200 ปอนด์
น้ำหนักบรรทุกสูงสุด:24,818 ปอนด์
ขนาดพัสดุ:85x60x120 นิ้ว
ความจุเชื้อเพลิง:46,000 ปอนด์
เพดานบินสูงสุด:41,000 ฟุต
ความยาวปีก:35.79 เมตร
ความยาว บ.:39.47 เมตร
จำนวนที่นั่ง:50 ที่นั่ง
ประจำการ:2550

Boeing 737-800 Technical Characteristics
Passengers
Typical 2-classconfiguration 162
Typical 1-classconfiguration 189
Cargo1,555 cu ft (44 cu m)
Engines
(maximum thrust) CFMI CFM56-727,300 lb
Maximum Fuel Capacity6,875 U.S. gal (26,020 L)
Maximum Takeoff Weight174,200 lb(79,010 kg)
Maximum Range3,060 nautical miles(5,665 km)
Typical Cruise Speed(at 35,000 feet) 0.785 Mach
Basic Dimensions
Wing Span112 ft 7 in (34.3 m)
With Winglets117 ft 5 in (35.8 m)
Overall Length129 ft 6 in (39.5 m)
Tail Height41 ft 2 in (12.5 m)
Interior Cabin Width11 ft 7 in (3.53 m)
ข้อมูลอ้างอิง เอกสารประกอบการเขียนจาก
The Aerospace Magazine October 2007


1/144th ScaleModel: BOEING 737-8Z6  ROYAL THAI AIR FORCE
Kits : Revell (Germany)           Decals : Siam Scale
Model by : Supawat  Putthitornworasit 
























































No comments:

Post a Comment